โรงพิมพ์ พิมพ์รุ่ง อินเตอร์ พริ้นท์ จำกัด บริการด้านงานพิมพ์ ทุกรูปแบบ ทุกชนิด ด้วยราคาที่ย่อมเยาว์ โรงพิมพ์ของเรารับงานพิมพ์ตามแบบที่คุณต้องการ เช่น พิมพ์แคตตาล็อก งานพิมพ์ขึ้นรูป(ไดคัท) บิล แผ่นพับ ใบปลิว นามบัตร โบรชัวร์ พิมพ์กล่องบรรจุภัณฑ์ พิมพ์สติ๊กเกอร์ ทำฉลากสินค้ารูปแบบต่างๆ ปั้มนูน ปั้มไดคัท เคลือบ PVC ด้าน หรือ เงา หรือไม่เคลือบ พร้อมปั๊มเค สะดุดตาไม่ซ้ำใคร พิมพ์เคทอง เคเงิน และฟอลย์สีต่าง ๆ เคลือบยูวี เคลือบยูวีเฉพาะจุด เคลือบลามิเนตด้าน หรือใส และ เคลือบโฮโลแกรมลายต่าง ๆ

สีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก

โดยทั่วไปสีในธรรมชาติและสีที่สร้างขึ้น จะมีรูปแบบการมองเห็นของสีที่แตกต่างกัน ซึ่งรูปแบบการมองเห็นสี ที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไปนั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ระบบ คือ
1. ระบบสีแบบ RGB ตามหลักการแสดงสีของเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ระบบสีแบบ CMYK ตามหลักการแสดงสีของเครื่องพิมพ์
3. ระบบสีแบบ HSB ตามหลักการมองเห็นสีของสายตามนุษย์
4. ระบบสีแบบ Lab ตามมาตรฐานของ CIE ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ใดๆ

1. ระบบสีแบบ RGB


lana  Website Design

เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สีคือ แดง (Red), เขียว (Green) และ น้ำเงิน (Blue)

ในสัดส่วนความเข้มข้นที่แตกต่างกัน เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์ได้มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นได้โดยปกติ และจุดที่สีทั้งสามสีรวมกันจะกลายเป็นสีขาว นิยมเรียกการผสมสีแบบนี้ว่าแบบ “Additive” หรือการผสมสีแบบบวก ซึ่งเป็นการผสมสีขั้นที่ 1 หรือถ้านำเอา Red Green Blue มาผสมครั้งละ 2 สี ก็จะทำให้เกิดสีใหม่ เช่น
Blue + Green = Cyan
Red + Blue = Magenta
Red + Green = Yellow
แสงสี RGB มักจะถูกใช้สำหรับการส่องสว่างทั้งบนจอทีวีและจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งสร้างจากการให้กำเนิดแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ทำให้สีดูสว่างกว่าความเป็นจริง

2. ระบบสีแบบCMYK

เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษ ซึ่งประกอบด้วยสีพื้นฐาน คือ สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow), และเมื่อนำสีทั้ง 3 สีมาผสมกันจะเกิดสีเป็น สีดำ (Black) แต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ โดยเรียกการผสมสีทั้ง 3 สีข้างต้นว่า “Subtractive Color” หรือการผสมสีแบบลบ หลักการเกิดสีของระบบนี้คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนสีจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่างๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB การเกิดสีนี้ในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB

3. ระบบสีแบบ HSB

lana  Website Design
เป็นระบบสีพื้นฐานในการมองเห็นสีด้วยสายตาของมนุษย์ ประกอบด้วยลักษณะของสี 3 ลักษณะ คือ - Hue คือ สีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุเข้ามายังตาของเรา ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆ ได้ ซึ่งแต่ละสีจะแตกต่างกันตามความยาวของคลื่นแสงที่มากระทบวัตถุและสะท้อนกลับที่ตาของเรา Hue ถูกวัดโดยตำแหน่งการแสดงสีบน Standard Color Wheel ซึ่งถูกแทนด้วยองศา 0 ถึง 360 องศา แต่โดยทั่วๆ ไปแล้วมักจะเรียกการแสดงสีนั้นๆ เป็นชื่อของสีเลย เช่น สีแดง สีม่วง สีเหลือง - Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก ถ้าถูกวัดโดยตำแหน่งบน Standard Color Wheel ค่า Saturation จะเพิ่มขึ้นจากจุดกึ่งกลางจนถึงเส้นขอบ โดยค่าที่เส้นขอบจะมีสีที่ชัดเจนและอิ่มตัวที่สุด - Brightness คือ ระดับความสว่างและความมืดของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด ยิ่งมีค่า Brightness มากจะทำให้สีนั้นสว่างมากขึ้น

4. ระบบสีแบบLab

lana  Website Design
ระบบสีแบบ Lab เป็นค่าสีที่ถูกกำหนดขึ้นโดย CIE (Commission Internationale d’ Eclarirage) เพื่อให้เป็นสีมาตรฐานกลางของการวัดสีทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกสีใน RGB และ CMYK และใช้ได้กับสีที่เกิดจากอุปกรณ์ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนและอื่นๆ ส่วนประกอบของโหมดสีนี้ได้แก่ L หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะกลายเป็นสีขาว Aเป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง B เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปสีเหลือง

การพิมพ์ 4 สี (RGB) (CMYK)ในงานพิมพ์ คืออะไร???

ความต่างระหว่าง (RGB) และ(CMYK)

lana  Website Design
เมื่อทำงานเกี่ยวกับการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์ มักจะเจอคำว่า RGB และ CMYK แต่ความหมายของมันคืออะไรกันนะ RGB และ CMYK ก็คือระบบการแทนค่าสีที่ใช้ในงานกราฟิก
แบ่งเป็น 2 โหมด คือ
RGB และ CMYK ซึ่งเหมาะกับงานคนละประเภทกัน RGB มีแนวคิดมาจากการผสมแสงสีหลัก 3 สีเข้าด้วยกัน คือ แดง (RED) เขียว (GREEN) และ น้ำเงิน (BLUE) ซึ่งเมื่อผสมกันจะทำให้เกิดสีจำนวนมากและเมื่อนำมารวมกันที่ความเข้มสูงสุด จะได้สีขาว ส่วนใหญ่การใช้สีลักษณะนี้จะใช้ในอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับแสง เช่นจอภาพ กล้อง ดิจิตอล เป็นต้น
lana  Website Design
CMYK มีแนวคิดมาจากระบบการพิมพ์ โดยภาพจะถูกแยกออกเป็นแม่พิมพ์ของสีหลักเพียง 4 สี คือ
ฟ้า (CYAN)
ม่วงแดง (MAGENTA)
เหลือง (YELLOW)
ดำ (BLACK) ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้วจะได้สีดำ
lana  Website Design

พิมพ์เท่าไหร่... สีก็ไม่เหมือนหน้าจอสักที

เชื่อว่าแทบจะทุกท่านที่เคยพิมพ์รูปภาพออกมาจากเครื่อง Computer ที่บ้าน ก็ต้องเคยประสบกับปัญหาว่า ภาพที่พิมพ์ออกมาจากเครื่อง Printer นั้น สีผิดเพื้ยนไปจากที่เราเห็นในจอภาพ (มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี) และคงจะมีคำถามในใจว่า ทำไมพริ้นท์งานออกมาเท่าไหร่ สีก็ไม่เห็นเหมือนหน้าจอสักที เพื่อที่จะหาเหตุผลมาอธิบายปัญหาดังกล่าว เราต้องเข้าใจเรื่องระบบสีหลักๆ ที่ใช้กันทั่วไปอยู่ ณ เวลานี้เสียก่อน นั่นก็คือ ระบบสี RGB และระบบสี CMYK
ระบบสี RGB ย่อมาจาก Red - Green - Blue ซึ่งเป็นแม่สีจากต้นกำเนิดที่เป็นแสง เช่น จอทีวี, จอคอมพิวเตอร์, จอโทรศัพท์มือถือ, หรือแม้แต่จอ VDO Projector (ลองสังเกตจอ Projector บนเครื่องบิน ก็จะเห็นว่ามีเลนส์อยู่ทั้งหมด 3 สี) โดยระบบสี RGB นี้จะสามารถสร้าง "ขอบเขตสี" ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ นั่นคือ ระบบสี RGB จะสามารถสร้างเฉดสีต่างๆ จากแสงแม่สีทั้ง 3 สี ได้อย่างมากมายนับไม่ถ้วน
RGB Chart * แม่สี RGB เป็นสีโปร่งแสง เมื่อนำทั้ง 3 สี มาผสมกัน จะได้แสงสีขาว ระบบสี CMYK ซึ่งเป็นแม่สีจากต้นกำเนิดที่เป็นสีทึบแสง เช่น สีโปสเตอร์ (ที่เราใช้ทำงานศิลปะส่งอาจารย์ตอนประถมฯ), สีน้ำ, และสีจากหมึกพิมพ์ นั่นเอง โดยระบบการพิมพ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ด้วยเครื่อง Printer ขนาดเล็กอยู่ที่บ้าน (ทั้ง Laser และ Inkjet) ไปจนถึงแท่นพิมพ์ขนาดใหญ่ อย่างแท่นพิมพ์ Offset ส่วนใหญ่ก็จะพิมพ์ด้วยระบบ CMYK ทั้งนั้น
CMYK Chart
** แม่สี CMYK เป็นสีทึบแสง เมื่อนำทั้ง 3 สี (CMY) มาผสมกัน จะได้สีดำ
ระบบสี CMYK นี้ จะมี "ขอบเขตสี" ที่เล็กกว่า "ขอบเขตสี" ของระบบ RGB นั่นคือ ระบบสี CMYK นั้นจะสร้างสีต่างๆ จากแม่สีหลักทั้ง 4 สี ได้น้อยกว่าแบบ RGB
ที่มาของปัญหา แน่นอนว่าการที่เราทำงานโดยดูสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ (ซึ่งเป็นระบบ RGB) และต้องพิมพ์งานออกมาใส่กระดาษโดยใช้ระบบ CMYK (ซึ่งมี "ขอบเขตสี" ที่เล็กกว่า) จะสร้างความปวดหัวให้กับเจ้า Computer พอสมควร
ท่านลองคิดดูว่า ถ้าไฟล์งานของเราใช้สีที่เป็นสีเขียวสะท้อนแสง หรือชมพูสะท้อนแสง (ซึ่ง "หน้าจอคอมพิวเตอร์" ใช้ระบบ RGB สามารถสร้างสีพวกนี้ขึ้นมาได้ แต่เครื่อง "Printer" ใช้ระบบ CMYK ไม่สามารถสร้างสี "แป๊ด" ได้ขนาดนั้้นได้) ตอนเราสั่งพิมพ์งานเจ้า Computer จะทำอย่างไร?
เจ้า Computer ก็ต้องพยายามตอบสนองความต้องการของนายของมัน โดยการแปลงสีเขียวแป๊ดๆ หรือสีชมพูแป๊ดๆ ที่เราต้องการ จากระบบ RGB ให้เป็น สีเขียว และสีชมพู ในระบบ CMYK ที่ใกล้เคียงกับระบบ RGB มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ *** Computer จะแปลงสี RGB ให้เป็น CMYK โดยจะพยายามรักษาค่าสีให้ใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด ผลก็คือว่า สิ่งงานพิมพ์ที่ได้จากเครื่อง Printer จะสีผิดเพื้ยนไปจากหน้าจอนั่นเอง! (สีเขียว และสีชมพูที่ได้จากการพริ้นท์ จะไม่ "แป๊ด" เท่ากับในหน้าจอคอมพิวเตอร์) แล้วจะทำอย่างไรกันดี?
วิธีลดปัญหาดังกล่าวทำได้ไม่ยาก นั่นก็คือ บอกให้จอคอมพิวเตอร์แสดงสีเฉพาะที่ระบบ CMYK สามารถทำได้นั่นเอง นั่นก็คือ เราต้องบอกให้โปรแกรมที่เราใช้ออกแบบงานสิ่งพิมพ์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมอย่าง Adobe Photoshop, Illustrator หรือ InDesign ทำงานในระบบ CMYK แทนที่ระบบ RGB โปรแกรมเหล่านี้จะทำการตัดสีแป๊ดๆ ต่างๆ (หรือสีอื่นใด) ที่ระบบ CMYK ไม่สามารถสร้างได้ ออกไปจากสาระบบของไฟล์งานของเรา เหลือเฉพาะสีที่ระบบ CMYK สามารถทำได้ให้เราเลือกใช้ในการออกแบบ พอเรา Save ไฟล์ๆ ก็จะถูก Save ในระบบ CMYK และเมื่อเราสั่งพิมพ์งาน เจ้า Computer ก็ไม่จำเป็นต้องแปลงค่าสีจากระบบ RGB ให้เป็น CMYK ก่อนที่จะส่งไฟล์เข้าเครื่องพิมพ์อีกต่อไป ผลก็คือ สีของงานพิมพ์ที่เราได้ จะใกล้เคียงกับสีที่เราเห็นในหน้าจอคอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายที่โปรแกรมที่ผู้ใช้ทั่วๆ ไปตามบ้านคุ้นเคยส่วนใหญ่ เช่น Microsoft Word, Excel, และ PowerPoint ยังไม่สามารถที่จะทำงานในระบบ CMYK ได้ ดังนั้น หากท่านต้องการที่จะออกแบบงานสิ่งพิมพ์ ที่ต้องการควบคุมเรื่องคุณภาพของสีแล้วหละก็ ทำไฟล์งานเป็นระบบ CMYK จะปลอดภัยที่สุด..